วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สารทดแทนความหวาน(แอสปาร์แตม)ช่วยลดอ้วนจริงหรือเปล่า?

สารทดแทนความหวานช่วยลดอ้วนจริงหรือเปล่า?
สารทดแทนความหวานช่วยลดอ้วนได้จริงๆ เหรอ?
สิ่งที่เราจะเห็นได้โดยทั่วไปคือ ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพกันมากขึ้น บ้างก็เลือกที่จะออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน บางคนไม่มีเวลา ก็ใช้วิธีเลือกที่จะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์ หรือเพื่อลดน้ำหนัก ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงส่งผลให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพมากมาย และเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหาร

แม้จะมีผลวิจัยบางส่วนที่ออกมารับรองว่าสารทดแทนความหวาน(แอสปาร์แตม) ไม่ได้เป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แต่การรับประทานในปริมาณมาก หรือวิธีการที่ไม่ถูก ไม่ควรก็อาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีก็เป็นได้ ถึงตอนนี้คงเกิดคำถามในใจว่า แล้วเราจะรับประทานแบบไหนถึงจะได้ผล และไม่ก่อให้เกิดโทษล่ะ
ความหวาน แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนชอบแต่การรับประทานอาหารหวานมากเกินไปก็อาจจะเป็นสาเหตุทำให้เราอ้วน และเกิดโรคเรื้อรังอย่างเช่นเบาหวาน สำหรับคนที่เป็นเบาหวานแพทย์ก็มักจะให้สารทดแทนความหวานไปรับประทานทดแทนในสิ่งที่ขาดไปจากร่างกาย 

หลายคนคงสงสัยว่า เบาหวาน โดยหลักการมันเป็นยังไง ขาดหวานเหรอ? หรือมีน้ำตาลในร่างกายมากเกินไปรึเปล่า?  โรคเบาหวานจะเป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในเลือดไปใช้งานได้ หรือถ้าเรียกตามศัพท์ของแพทย์คือ การที่ร่างกายเกิดการดื้อต่อฮอร์โมนอินซุลิน ซึ่งทำหน้าที่ดึงน้ำตาลเข้าไปใช้งานในร่างกายเพื่อเผาพลาญเป็นพลังงาน ภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซุลินจึงส่งผลให้เกิดอาการน้ำตาลในเลือดสูง จนกลายเป็นเบาหวานในที่สุด จึงส่งผลให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อพยายามชี้ชวนให้ผู้บริโภคหันมารับประทานสารทดแทนความหวานแทน เพื่อรักษาสุขภาพ

สารทดแทนความหวานมีหลายชนิดในท้องตลาด แต่นิยมใช้กันแพร่หลายคือแอสปาร์แตม
(อ้างอิงจาก Wikipedia: แอสปาร์แตม หรือ Aspartame เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ไม่ให้พลังงาน) 
ซึ่งเจ้าแอสปาแตม ก็มักจะพบในน้ำตาลเทียม กาแฟลดความอ้วน และเครื่องดื่มต่างๆ ที่มักโฆษณาว่าไม่ทำให้อ้วนนั่นเอง  ด้วยคุณสมบัติของแอสปาแตมที่เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่ไม่
ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยจะมีความหวานมากกว่าน้ำตาลโดยประมาณ 200 เท่า ซึ่งมักจะใช้ประกอบอาหารให้กับผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย

ดูผิวเผิญเราอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะเราสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลได้ แต่ควรคำนึง และพึงระวังสำหรับการรับประทานแอสปาร์แตนนิดหน่อยนะคะ เช่น ควรหลีกเลี่ยงผู้ที่มีภาวะฟีนิลคีโตนูเรีย
" ฟีนิลคีโตนูเรีย เป็นโรคทางพันธุกรรม ที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางเมแทบอลิซึมของร่างกาย ผู้ที่เป็นโรคนี้จึงไม่สามารถสร้างเอนไซม์ เพื่อย่อยโปรตีนฟีนิลอะลานีน ซึ่งมักพบเป็นส่วนประกอบในแอสปาร์แตมได้ "
อ้างอิงจาก Wikipedia
และสิ่งที่ต้องพึงระวังอีกอย่างคือ ด้วยโครงสร้างของแอสปาร์แตมจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้เมื่อโดนความร้อน และเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน  ดังนั้นการเติมสารเพิ่มความหวานที่มีส่วนผสมของแอสปาร์แตม เพื่อปรุงอาหารที่เพิ่งปรุงเสร็จทันที หรือเครื่องดื่มร้อน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเราไม่รู้ว่าจะทำให้โครงสร้างของแอสปาร์แตมมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ 

ทั้งนี้ยังมีผลการศึกษาส่วนหนึ่งที่บ่งชี้ว่า แอสปาร์แตมสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว ทั้งในหนู และในมนุษย์ได้ และจากที่เคยคิดว่าแอสปาร์แตมไม่ได้เพิ่มพลังงานให้ร่างกาย ก็น่าจะไม่ทำให้อ้วน แต่กลับพบว่าแอสปาร์แตนมีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วน และภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพิ่มขึ้นอีกด้วย  

เพราะฉนั้นการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสารทดแทนความหวานก็ควรพึงระวัง ให้รับประทานในสาวะที่เหมาะสม และให้ถูกวิธี แต่ให้ดีคือหลีกเลี่ยงการรับประทานก็จะดีที่สุด สุดท้ายจริงๆ ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณแล้วล่ะที่จะเลือกว่าจะรับประทานแบบไหน หากห่วง และอยากดูแลสุขภาพตัวเอง แนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงความหวานจากน้ำตาล โดยการรับประทานให้น้อยลง ทานผัก ผลไม้เพิ่มมากขึ้น อาจจะยากหน่อยสำหรับใครก็ตามที่เริ่มต้น แต่ให้คิดว่านี่แหละคือการลดอ้วนแบบยั่งยืน และเพื่อสุขภาพที่แท้จริงจ้า


ขอบคุณรูปภาพจาก pinterest.com
ขอบคุณสาระดีๆ จากนิตยสาร M&C Mother And Chid
ทำกับข้าวกินเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น